วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การวาดเส้น (Drawing) เป็นพื้นฐานของงานทัศนศิลป์และการออกแบบ โดยการสร้างภาพสองมิติโดยวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว ให้เกิดร่องรอยต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือที่อยู่ใกล้ตัว เช่น ถ่าน เศษไม้ หรือแม้แต่นิ้วมือของตนเอง แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ ดินสอ ปากกาและหมึก เครยอง ดินสอสี ดินสอถ่าน ชอล์ก ชอล์กสี ปากกามาร์กเกอร์ ปากกาหมึกซึม ซึ่งโดยมากจะเขียนลงบนกระดาษ หรือวัสดุอื่นอย่าง กระดาษแข็ง พลาสติก หนัง ผ้า กระดาน สำหรับการเขียนชั่วคราวอาจใช้กระดานดำหรือกระดานขาว หรือบนอะไรก็ได้
สำหรับศิลปินที่เขียนหรือทำงานการวาดเส้นอาจหมายถึง ช่างสเก็ตภาพ หรือ ช่างเขียนแบบ

Speed Charcoal Drawing - Megan Fox - Theportraitart

การปั้นหน้าคนเหมือน

การระบายสีน้ำ
   ปัจจุบันเรานิยมเขียนภาพสีน้ำกันอย่างแพร่หลาย ความนิยมในการเขียนภาพสีน้ำเพราะความงดงาม
ของสีน้ำที่แสดงให้เห็นถึง มิติของสี ความซับซ้อนของพื้นภาพ และประกายแสง ลักษณะพิเศษเหล่านี้ เกิดจากการระบายที่ประณีตซับซ้อน นอกจากนั้นแล้ว สีน้ำยังมีเสน่ห์ ในการนำออกไประบายยังสถานที่ี่ ต่างๆ เราเพียงแต่มีกล่องใส่สีน้ำหรืออาจจะใช้สีน้ำช่วยระบายเป็นภาพร่างสำหรับการเขียนภาพสีน้ำมัน หรือสีอะครีลิค อัลเบรชท์ ดูเรอร์ เป็นศิลปินคนแรกที่ใช้สีน้ำเป็นสื่อในการแสดงออกเพื่อเขียนภาพสัตว์์ และ ภาพภูมิทัศน์ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19  เทอร์เนอร์ เป็นศิลปิน คนแรกในการระบายสีน้ำตามแนวทางศิลปะสมัยใหม่
   ปีคริสต์ศักราช 1832 นักเคมีและจิตรกร วิลเลียม วินเซอร์  และ เฮนรี นิวตัน ได้เริ่มต้นธุรกิจ สิ่งที่ทั้ง สองประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ คือ สีน้ำ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน คือ สีน้ำบรรจุกล่อง แล้วจึงตามมาด้วย สีน้ำชนิดบรรจุหลอดโลหะในปี ค.ศ.1841
    คำแนะนำต่อไปนี้  ได้เตรียมข้อมูลที่หลากหลายสำหรับการระบายสีน้ำ  เป็นพื้นฐานการทำงานที่ดี
สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา(มือใหม่) สำหรับมืออาชีพ ก็มีคู่มือวัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์์งานศิลปะ
ด้วยเช่นกัน




วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทบาทในการส่งเสริมศิลปะเด็ก

บทบาทในการส่งเสริมศิลปะเด็ก
          สรุปได้ว่า ผู้ที่เป็นพ่อแม่ ครู อาจารย์และผู้เกี่ยวข้องกับชีวิตของเด็กๆไม่สมควรมุ่งหวังที่ตัวรางวัลหรือส่งเสริมศิลปะเด็กเพื่อเตรียมตัวเป็นศิลปิน
หรือจิตรกรในอนคต เนื่องจากเด็กยังมีชีวิตอยู่อีกยาวนาน พ่อแม่หรือผู้หวังดีไม่ควรรีบร้อนกำหนดชีวิตอนาคตของเด็กว่าจะต้องมีอาชีพทางศิลปะ เช่น จิตรกรหรือศิลปินผู้มีชื่อเสียง
           แนวทางที่เหมาะสมสำหรับเด็กในวันนี้ เด็กๆทุกคนควรได้รับการส่งเสริม ให้แสดงออกทางศิลปะ เพื่อพัฒนาความคิด
ริเริ่มสร้างสรรค์ จินตนาการ และปลูกฝังศิลปะนิสัยที่ดีงามลงในตัวเด็ก เพื่อเตรียมเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในอนาคตต่อไป
           เมื่อถึงวันนั้นแล้วเราอาจจะได้บุคคลหลายๆวิชาชีพที่ล้วนแต่มีคุณภาพที่ดีหรือมีความคิดริเริ่มสร้าง
สรรค์สูง เช่น นายแพทย์ วิศวกร สถาปนิก นักการเมือง นักธุรกิจ แม่บ้าน หรือแม้แต่จะเป็นชาวนาหรือคนขับรถฯลฯทุกคนต่างก็จะมีคุณภาพของชีวิตที่ดี คือ สามารถพัฒนาตนเองและสังคมให้มีสภาพดีขึ้นกว่าปัจจุบันนี้
รองศาสตราจารย์เลิศ อานันทนะ

ผลจากการเป็นนักล่ารางวัล

ผลจากการเป็นนักล่ารางวัล
         เด็กที่มีความสามารถทางศิลปะบางคนแทนที่จะมีความสุขและประสบความสำเร็จในการใช้ความถนัดทางธรรมชาติของตนตามความเหมาะสม บางครั้งได้กลายเป็นความโชคร้ายของเด็กคนนั้น เมื่อถูกผู้ใหญ่ใช้เป็นเครื่องมือในการประกวดแข่งขันตามเวทีศิลปะต่างๆ จนสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองไป
           แถวๆ ฝั่งธนมีคุณแม่อยู่คนหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันในวงการว่าเป็นคนที่จุ้นจ้าน ชอบบงการชีวิตของลูกชายผู้รักศิลปะของตน บางครั้งจะโทรศัพท์หรือไม่ก็ไปพบกรรมการผู้เกี่ยวข้องกับศิลปะเด็กบางคน เพื่อปรึกษาหรือร้องทุกข์ถึงความผิดหวัง เจ็บปวดรวดร้าว เมื่อลูกชายสุดที่รักคนเดียวส่งภาพเขียนไปประกวดแล้วถูกกรรมการที่ไม่เอาไหนตัดสินให้รับรางวัลชมเชย ทั้งๆ ที่น่าจะได้รับรางวัลที่ 1
          คุณแม่ของจิตรกรรุ่นเยาว์ผู้เคราะห์ร้ายจะบ่นรำพันมาตามสาย เพื่ออธิบายให้เห็นถึงความสายตาสั้นของกรรมการผู้ตัดสินบางคน ที่มองไม่เห็นถึงความเป็นอัจฉริยะทางศิลปะของลูกรัก ตาต่ำ ไร้รสนิยม และขาดความยุติธรรมจนกระทั่งเห็นผลงานคนอื่นดีกว่า
           อันที่จริงกรรมการบางท่านก็อาจจะเป็นเช่นนั้นในบางครั้ง เพราะอาจถูกเชิญมาในฐานะศิลปิน จึงมีความคิดเป็นของตนเองและขาดความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กวัยต่างๆ เวลาพิจารณาตัดสินจะพูดอยู่เพียงสองคำเท่านั้นคือ "เอา" กับ "ไม่เอา" ถ้าไม่เอาก็หมายความว่าภาพเขียนชิ้นนั้นจะถูกนำไปกองในประเภทคัดออกไปอย่างรวดเร็ว บางครั้งในขนาดวางภาพหัวกลับก็สามารถตัดสินได้ อย่างไรก็ตามการพิจารณาตัดสินโดยทั่วไปก็มักจะมีการเชิญกรรมการหลายคน และยึดถือเสียงส่วนใหญ่เป็นข้อยุติ ดังนั้น เมื่อกรรมการตัดสินไปแล้วปรากฏผลเป็นอย่างไรก็ควรยอมรับ ถ้าหากไม่ยอมรับก็ไม่สมควรจะเข้าไปร่วมการประกวดและแข่งขันนั้นๆเสียตั้งแต่ต้น ทั้งนี้ควรทราบด้วยว่าในการประกวดและแข่งขันย่อมไม่ใช่วิธีการส่งเสริมศิลปะเด็กที่เหมาะสมทุกประการ แต่เป็นเพียงกิจกรรมหนึ่งเสมือนเป็น "สนาม" สำหรับประลองฝีมือทางศิลปะให้เด็กเกิดความกระตือรือร้นเท่านั้น

รางวัลสร้างสรรค์หรือทำลาย

รางวัลสร้างสรรค์หรือทำลาย
   ณ ที่ใดที่มีการประกวดและแข่งขันเพื่อชิงรางวัลที่นั้นย่อมจะต้องมีผู้ดีใจและเสียใจข ดังนั้น รางวัลจึงเปรียบเสมือน "ดาบสองคม" ที่คุณและโทษ ทางด้านหนึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นประโยชน์กล่าวคือ เป็นเครื่องหมายของการยกย่องให้เกียติ ซึ่งนำมาสู่ความภาคภูมิใจแก่ผู้ที่ได้รับ ถ้าหากรู้จักใช้อย่างพอเหมาะพอควร รางวัลจะเป็นแรงผลักดันสำคัญ ทำให้เกิดกำลังใจในทางสร้างสรรค์ที่ดีงาม ส่วนคมอีกด้านหนึ่งนั้นเป็นตัวทำลาย เนื่องจากการประกวดและแข่งขันมักจะถูกกำหนดเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ต่างๆ นานาจากผู้ดำเนินการในแต่ละครั้ง อาทิ เช่น การกำหนดเนื้อหาเรื่องราว เทคนิควิธีการและข้อจำกัดอื่นๆ ตามแต่ผู้จัดจะกำหนดโดยทั่วไปเด็กๆ จึงไม่มีโอกาสได้แสดงออกอย่างอิสระเสรี ซ้ำบางครั้งครูและผู้ปกครองที่มีความประสงค์อยากให้เด็กของตนได้รับรางวัล มักจะออกคำสั่งให้เด็กนั้นๆ ทำงานตามวิธีการของผู้ใหญ่ที่คิดว่าจะทำให้ผลงานนั้นดีกว่าหรือได้เปรียบกว่าผู้ประกวดและผู้แข่งขันคนอื่นๆ
   จากการชี้แนะและออกคำสั่งบงการให้เด็กต้องทนทำงานศิลปะตามลักษณะรูปแบบที่ผู้ใหญ่คาดหมายว่าจะได้รับรางวัล โดยที่เด็กไม่มีโอกาสใช้ความคิดของตนเองเลยนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่าเด็กกำลังถูกแทรกแซงทางความคิดให้จำต้องสร้างงานศิลปะตามคำบงการของผู้อื่นโดยมีรางวัลเป็นสิ่งล่อใจ ซึ่งนอกจากไม่เป็นการส่งเสริมทัศนคติที่ดีต่อศิลปะเด็กแล้ว ยังเป็นการทำลายความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่บริสุทธิ์ของเด็กๆ ลงอย่างน่าเสียดายอีกด้วย

อย่าสอนเด็กให้เป็นทาสรางวัล

อย่าสอนเด็กให้เป็นทาสรางวัล
     ผู้ใหญ่บางคนที่ต้องการส่งเสริมให้เด็กทำงานศิลปะเพื่อหวังแต่รางวัลจนเด็กตกเป็น
ทาสของรางวัลนั้น เคยสังเกตบ้างไหมว่าในดวงใจของเด็กที่เคยสะอาดสะอ้าน
บริสุทธิ์ น่ารัก และร่าเริง แจ่มใสอย่างมีชีวิตชีวาหลังจากถูกเพาะกิเลส ด้วยรางวัลจาก
ผู้ใหญ่ ได้กลับกลายเป็นเด็กที่มีหัวใจอันหยาบกระด้าง เห็นแก่ตัว เย่อหยิ่งยะโสก้าวร้าว บางครั้งอาการผิดหวัง ซึมเศร้า อิจฉาริษยา และโกรธแค้นชิงชัง เมื่อไม่ได้รับรางวัลอีก
         นอกจากนี้ ในบรรยากาศที่มุ่งประกวดและแข่งขันชิงรางวัลนั้น ในดวงตาของเด็กๆ ไม่ได้ถูกสอนไม่ได้ถูกสอนให้มองถึงความงดงามของศิลปะ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รอบๆตัวแต่กลับมีนัยน์ตาเป็นประกายมองเห็นแต่รางวัลและสิ่งที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมาให้หลงบูชา
ด้วยความชื่นชม เช่น เหรียญโล่ โบว์และกล่องของขวัญชนิดต่างๆ ซึ่งบางครั้งเมื่อแกะกล่องออกมาแล้วภายในเป็นเพียงสิ่งของราคาถูก และมักถูกโยนทิ้งลง
ถังขยะในที่สุด
             ทำไมเราไม่สอนให้เด็กรักศิลปะ แทนที่จะมุ่งแสวงหารางวัล คะแนนและสิ่งตอบแทนต่างๆ
ที่มอมเมาเด็กทำไมไม่สอนเด็กเป็นคนที่สมบูรณ์ก่อนที่จะสอนให้เด็กเป็นศิลปินหรือจิตรกรที่บางคนแต่งกาย
สกปรกผมเผ้ารกรุงรังคล้ายคนบ้าๆ บอๆ และมีพฤติกรรมที่แปลกๆ ประหลาด ซึ่งเด็กๆ ผู้อ่อนเยาว์ไม่สมควรจะเอาเป็นตัวอย่าง

สอนคนให้เป็นคน ก่อนที่จะสอนคนให้เป็นศิลปินหรือจิตรกร

สอนคนให้เป็นคน ก่อนที่จะสอนคนให้เป็นศิลปินหรือจิตรกร
…ศิลปะเด็กเป็นสื่อที่ดีในการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็ก 
ไม่ใช่การเตรียมคนให้เป็นศิลปินหรือจิตรกรในอนาคต…               

         ศิลปะในโลกของเด็กๆ นั้นคือ การแสดงออกอย่างอิสระเสรี (Free Expression) อันเต็มไปด้วยความ
ซื่อบริสุทธิ์จริงใจ เปิดเผยและเป็นไปอย่างตรงไปตรงมาประสาของเด็ก โดยปราศจากการเสแสร้ง ดัดจริตและ
ไร้มารยาสาไถยซึ่งนับว่าเป็นคุณสมบัติที่หายากในงานศิลปะของผู้ใหญ่ทั่วไปโดยเฉพาะมีศิลปินชั้นนำของโลก
เพียงบางท่านเท่านั้นเช่น ปิกัสโซ่, ชากาล, แคนดินสกี, ฯลฯ ที่มีความเข้าใจ และสามารถทำงานศิลปะที่บริสุทธิ์ คล้ายคลึงกับผลงานศิลปะของเด็กๆ
 
         แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งว่าในปัจจุบันนี้ศิลปะบริสุทธิ์ของบรรดาเด็กๆกำลังถูกผู้ใหญ่ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์
พยายามชักจูงและเกลี้ยกล่อมให้ทำงานศิลปะโดยเอารางวัลมาเป็นตัวล่อ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ตอบแทน ด้วยการยืมฝีมือของเด็กๆ ส่งผลงานไปประกวดและแข่งขันยังสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะครูศิลปะบางคนที่ยังขาดความเข้าใจในปรัชญาเกี่ยวกับศิลปะเด็กมักสำคัญผิดคิดว่าวิธีการส่งเสริม
ศิลปะสำหรับเด็ก คือ การประกวดและแข่งขันชิงรางวัลครูศิลปะและผู้ใหญ่ประเภทดังกล่าวนี้ จึงมักจะส่งเสริมกิจกรรมศิลปะโดยมุ่งหวังที่รางวัลแต่เพียงประการเดียวจนกระทั่งเด็กๆ หลายคนถูกชักนำให้กลายเป็นนักล่ารางวัลไปโดยไม่รู้สึกตัว
         พ่อแม่และผู้ปกครองตลอดจนผู้เกี่ยวข้องก็พลอยยินดีไปด้วยความรู้สึกภาคภูมิใจเพราะคิดว่ารางวัลนั้น คือ ตัวแทนของความสามารถและเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความสำเร็จที่น้อยคนจะได้รับ บรรดาผู้ใหญ่ที่แสดงความรักเด็กในขณะเดียวกันก็รักรางวัลไปพร้อมๆ กันด้วยนี้ จึงพากันมุ่งส่งเสริมกิจกรรมศิลปะเพื่อต้องการเอารางวัล บางคนพยายามสืบเสาะดูว่าในการประกวดและแข่งขันศิลปะนั้นๆ มีใครเป็นกรรมการบ้าง กรรมการแต่ละคนมีรสนิยมอย่างไรเพื่อว่าที่จะได้กลับมาชี้แนะให้เด็กๆ ทำงานศิลปะให้ถูกใจกรรมการ หารู้ไม่ว่าพฤติกรรมเช่นนั้นเท่ากับเป็นการทำลายความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการที่สะอาดบริสุทธิ์ของเด็กๆ ตั้งแต่เยาว์วัย

ลัทธิแอ็บแสตร็ค (Abstract)


Abstract คืองานศิลปะที่ไม่มีอะไรเมือนจริงในธรรมชาติเลย แต่จะเป็นความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินที่ แสวงหาวิธีการแสดงออกทางความคิด ที่เป็นอิสระของเส้น สี และรูปทรง แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าศิลปินทำงานอะไรออกมามั่ว ๆ ได้ เพราะว่า กว่าที่ศิลปะ Abstract จะเกิดขึ้นมาได้นั้น มันต้องผ่านวิวัฒนาการทางความคิดและรูปแบบศิลปะ กล่าวคือ มันต้องผ่าน รูปแบบของศิลปะกึ่งนามธรรม (Semi - Abstract Art) เช่นศิลปะแบบ Expressionism, Cubism และ Fauvism พวกนี้มาก่อน ถึงจะมาเป็น Abstract ได้อย่างเต็มตัว
       Type of Abstract Art ?    เมื่อศิลปะก้าวเข้ามาในแนว Abstract อย่างเต็มตัว นั่นก็หมายความว่า เรื่องราว หรือ เนื้อหาของภาพจะถูกลดความสำคัญลง หรือ ถูกบิดเบือนตัดทอน เพื่อที่จะเปลี่ยนไปเป็น Abstract มากขึ้น ศิลปะ Abstract เราอาจแบ่งได้เป็น 2 พวกใหญ่ๆ คือ
       1    Abstract Expressionism      2    Geometric Abstraction
       ศิลปะ Geomatric Abstracttion นั้นจะเป็นพวกที่สืบถอด และรับอิทธิพลมาจากพวก Cubism ศิลปินใน กลุ่มนี้ ที่เห็นได้ชัดก็คือ Piet Mondrain ส่วนกลุ่ม Abstract Expressionism นั้นจะรับอิทธิพลมาจาก Kandinsky เป็นหลัก ศิลปินในกลุ่มนี้ ยังแบ่งเป็นอีก 2 พวกใหญ่ๆ อีกก็คือ
       -    Action Painting   เช่น Jackson Pollock
       -    Colour-Field Painting   เช่น Mark Rothko

       ศิลปะแบบ Geomatric Abstract นี้ได้สืบทอดแนวความคิดของพวก Cubism ที่ว่า "การลดถอน ทุกสิ่งทุกอย่างลงจนเหลือแค่โครงร่างเรขาขณิต" โดยที่พวกเขานำมาเสนอใหม่ในรูปแบบ Abstract อย่างเต็มตัว ศิลปินในกลุ่มนี้ที่เด่นๆ ก็คือ Piet Mondrian เขาเป็นจิตรกรชาวดัทช์ โดยที่เขามีความคิดในการทำงานศิลปะว่า จะต้องเลิกล้มประเพณีของจิตกรรมแบบเก่าๆ โดยเน้นที่จะต้องเป็นศิลปะเป็น Abstraction และ Simplification ซึ่งนั่นก็คือ การเน้นโครงสร้างที่คิดคำนวณอย่างหนัก ในการนี้ เส้นตรงเข้ามามีบทบาทสำคัญ และก็มีความชัดเจน ส่วนสีก็จะ ลดให้เหลือแต่แม่สี แดง เหลือง นํ้าเงิน และสีกลาง (ขาว เทา ดำ) การลดรูปทรง ลดสีนี้ มันเป็นสัญลักษณ์ ที่แฝงมาจากปรัชญาตะวันออก และการสอนเกี่ยวกับสมาธิ วิปัสนา (Theosophy) ที่มีอยู่ในขณะนั้น
       ในปี ค.ศ. 1911Mondrain ได้เดินทางไป Paris ซึ่งอยู่ในช่วงที่ Cubism กำลังแพร่หลายที่นั่น ทำให้เขา ได้รับอิทธิพลในเรื่องสีจาก Picasso และ Braque ซึ่งก็คือการใช้สีในแนวเขียวตะไคร่ สีเทา สีดินออกเหลือง นํ้าตาล แต่ Mondrian จะทำเส้นให้ตรงไปตรงมา มากกว่าจะจัดวางระนาบ และเส้นเฉียงๆ แบบ Cubism ของ Picasso ถึงแม้ว่า Mondrain จะรับอิทธิพลจากศิลปะแบบ Cubism แต่เขาก็ไม่ทำภาพที่ไม่มีเนื้อหา และ ความลึกลวงตาในภาพอย่างของ Cubism
       จุดมุ่งหมายสุดท้ายที่ Mondrain ต้องการในภาพเขียนของเขาก็คือ Pure Reality หรือ สัจธรรมบริสุทธิ์ Reality ของ Mondrain ก็คือสีที่มีอยู่ขณะนั้นในภาพไม่ใช่ Reality ในการเลียนแบบธรรมชาติให้เหมือนจริง โดยที่ Mondrain นั้นเขาจะแสดงความเป็น Reality ด้วยการจัดรูปทรง และสีให้มีแรงผลักดัน เคลื่อนไหวอย่าง ได้ดุลย์กัน Mondrain จะมีวิธีการจัดรูปทรงสี่เหลี่ยมวางในแนวดิ่ง มุมทุกมุมจะเป็นมุมฉาก มีเส้นดำเด่นในแนวดิ่ง และ ในแนวราบ สลับผ่าน รูปสี่เหลี่ยมที่ใช้สีแดง สีนำเงิน สีเหลือง โดยอยู่บนพื้นภาพสีกลางๆ (ขาว) ทำให้เกิด โครงสร้างที่มีเส้นรอบนอก เคร่งครัด เป็นรูปแบบ "Neo-Plasticism" ที่ Mondrain ได้ค้นพบขึ้นมาเอง และทำได้สมบูรณ์แบบ อย่างที่เราเห็นได้ในภาพ New York City
       Neo - Plasticism ก็คือพลังเคลื่อนไหวของรูปทรง และ สีที่สะอาดบริสุทธิ์ โดยเป็นผลของการวางแผน ไตร่ตรองไปตามขั้นตอน จนได้ศิลปะนามธรรมแท้ ที่มีพื้นฐานความคิดจากโลกและวัตถุจริงจากธรรมชาติ เช่น ผังเมือง New York ซึ่งถือได้ว่าเป็นแนวคิดสมัยใหม่แบบหนึ่งในการแสวงหาความจริง เกี่ยวกับภาวะของวัตถุที่เป็นสามมิติ ซึ่งก็ทำให้งานของ Mondrain เป็นงาน Geometric Abstraction ที่สมบูรณ์ทั้งรูปแบบและความคิดนั่นเอ

ลัทธิเหนือจริง (Surrealism)

               ลัทธิเหนือจริง (อังกฤษSurrealism[1]) คือขบวนการทางวัฒนธรรมที่เริ่มราวต้นคริสต์ทศศตวรรษที่ 1920 ซึ่งจะเห็นได้จากจักษุศิลป์และงานประพันธ์ของกลุ่มผู้ติดตาม งานประเภทเหนือจริงจะมีองค์ประกอบของความนึกไม่ถึง หรือการจัดองค์ประกอบที่แสดงความขัดแย้ง แต่ศิลปินลัทธิเหนือจริงจะกล่าวถึงงานของตนเองว่าเป็นการแสดงออกทางปรัชญาของขบวนการและงานที่ทำเป็นเพียงสิ่งที่แสดงออกของปรัชญาดังว่า ซึ่งผู้นำลัทธิอองเดร เบรทอง(André Breton) กล่าวไว้อย่างชัดแจ้งว่า “ลัทธิเหนือจริง” เหนือกว่าสิ่งใดคือขบวนการปฏิวัติ จาก ลัทธิดาดา (Dadaism) ที่ริเริ่มที่ซูริคในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง “ลัทธิเหนือจริง” ก็เริ่มก่อตั้งขึ้นราวคริสต์ทศศตวรรษที่ 1920 โดยมีศูนย์กลางที่ปารีสและขยายไปทั่วโลก และมีผลต่องานศิลปะหลายแขนงรวมทั้งจิตรกรรมประติมากรรมวรรณกรรม และภาพยนตร์เช่น “Angel's Egg” และ “El Topo” เป็นต้น

จิตรกรรม (Painting)


ไฟล์:Mona Lisa.jpg
จิตรกรรม (อังกฤษ : painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร
จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ
ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว์
จำแนกได้ตามลักษณะผลงานที่สิ้นสุด และ วัสดุอุปกรณ์การสร้างสรรค์เป็น 2 ประเภท คือ ภาพวาด และ ภาพเขียน
  • จิตรกรรมภาพวาด (Drawing) จิตรกรรมภาพวาด เรียกเป็นศัพท์ทัศนศิลป์ภาษาไทยได้หลายคำ คือ ภาพวาดเขียน ภาพวาดเส้น หรือบางท่านอาจเรียกด้วยคำทับศัพท์ว่า ดรอวิ้ง ก็มี ปัจจุบันได้มีการนำอุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ใช้ในการเขียนภาพและวาดภาพ ที่ก้าวหน้าและทันสมัยมากมาใช้ ผู้เขียนภาพจึงจึงอาจจะใช้อุปกรณ์ต่างๆมาใช้ในการเขียนภาพ ภาพวาดในสื่อสิ่งพิมพ์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาพวาดลายเส้น และ การ์ตูน
  • จิตรกรรมภาพเขียน (Painting) ภาพเขียนเป็นการสร้างงาน 2 มิติบนพื้นระนาบด้วยสีหลายสีซึ่งมักจะต้องมีสื่อตัวกลางระหว่างวัสดุกับอุปกรณ์ที่ใช้เขียนอีก ซึ่งกลวิธีเขียนที่สำคัญ คือ
    1. การเขียนภาพสีน้ำ (Colour Painting)
    2. การเขียนภาพสีน้ำมัน (Oil Painting)
    3. การเขียนภาพสีอะคริลิค (Acrylic Painting)
    4. การเขียนจิตรกรรมฝาผนัง (Fresco Painting)
    5. จิตรกรรมแผง(Panel Painting)

ประติมากรรม (Sculpture)


ประติมากรรม (อังกฤษsculpture) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร
งานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า ปฏิมากร
งานประติมากรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามมิติของกความลึก ได้แก่
  • ประติมากรรมนูนต่ำ
  • ประติมากรรมนูนสูง
  • ประติมากรรมลอยตัว
นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมโมบาย ที่แขวนลอยและเคลื่อนไหวได้ และประติมากรรมติดตั้งชั่วคราวกลางแจ้ง (Installation Art) ที่เรียกว่าศิลปะจัดวาง
1. ประติมากรรมลอยตัว ( Round - Relief ) ได้แก่ ประติมากรรมที่ปั้น หล่อ หรือแกะสลักขึ้นเป็นรูปร่างลอยตัวมองได้รอบด้าน ไม่มีพื้นหลัง เช่น รูปประติมากรรมที่เป็นอนุสาวรีย์ประติมากรรมรูปเหมือน และพระพุทธรูปลอยตัวสมัยต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงประติมากรรมสำหรับประดับตกแต่ง เป็นต้น ประติมากรรมประเภทลอยตัวของไทยที่รู้จักกันดี คือ พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ โดยเฉพาะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นพระพุทธรูปคลาสิคของไทยนั้นนับเป็นประติมากรรมลอยตัวที่สมบูรณ์แบบที่สุดของไทย ประติมากรรมประเภทนี้สร้างมากในสมัยปัจจุบัน คือ อนุสาวรีย์และรูปเคารพหรือพระบรมรูปของเจ้านายชั้นสูง เช่น อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า กรุงเทพ ฯ อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช ที่วงเวียนใหญ่ กรุงเทพ ฯ อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินี กรุงเทพ ฯ อนุสาวรีย์ในจังหวัดต่าง ๆ มากมายเป็นต้น
ไฟล์:Rodin02.jpg
2. ประติมากรรมประเภทนูนสูง ( High – Relief ) ได้แก่ ประติมากรรมที่ไม่ลอยตัว มีพื้นหลัง ตัวประติมากรรมจะยื่นออกมาจากพื้นหลังค่อนข้างสูง แต่มีพื้นเป็นฉากหลังประกอบอยู่ ประติมากรรมประเภทนี้มักใช้ตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรมพุทธศาสนาฐานอนุสาวรีย์อาคารทั่วไป เป็นประติมากรรมที่นิยมสร้างขึ้นเพื่อประดับตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรมพุทธศาสนาแต่อดีต เช่น ประติมากรรมตกแต่งกระวิหารวัดไลย์ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นประติมากรรมปูนปั้นแบบนูนสูง กล่าวกันว่าเป็นศิลปะสมัยอู่ทอง สร้างขึ้นราวพุทธศวตวรรษที่ 17 โดยด้านหน้าวิหารปั้นเป็นเรื่องปฐมสมโพธิ์และทศชาติด้านหลังเป็นเรื่องการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ประติมากรรมปูนปั้น พระพุทธรูปปางลีลาที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ประติมากรรมปูนปั้นที่วิหารทรงม้า วัดมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราชและประติมากรรมปูนปั้นประดับเจดีย์เจ็ดยอด วัดเจดีย์เจ็ดยอดอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ประติมากรรมประเภทนูนสูงที่ใช้สำหรับตกแต่งนี้ควรจะรวมถึง ประติมากรรมที่เป็นลวดลายประดับตกแต่งด้วย เช่น ประติมากรรมปูนปั้นประดับกระจกหน้าบ้าน พระอุโบสถและวิหารต่าง ๆ ตลอดจนถึงการประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน เช่น ประติมากรรมที่ปั้นเป็นเรื่องราวหรือเป็นลวดลายประดับตกแต่งอาคาร ตกแต่งฐานอนุสาวรีย์ ตกแต่งสะพาน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นต้น
ไฟล์:Rodin01.jpg
3. ประติมากรรมประเภทนูนต่ำ ( Bas – Relief ) ได้แก่ งานประติมากรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประติมากรรมประเภทนูนสูง แต่จะแบนหรือบางกว่าประติมากรรมประเภทนี้ ไม่ปรากฏมากนักในอดีต ซึ่งมักจะได้แก่ ประติมากรรมที่เป็นลวดลายประดับตกแต่ง เช่น แกะสลักด้วยไม้ หิน ปูนปั้น เป็นต้น ในปัจจุบันมีทำกันมากเพราะใช้เป็นงานประดับตกแต่งได้ดี ซึ่งอาจจะปั้นเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ตามวัตถุประสงค์ของสถาปัตยกรรมที่นำประติมากรรมนั้นไปประกอบนอกจากนี้ ประติมากรรมประเภทนี้ยังใช้ได้ดีในการปั้นเหรียญชนิดต่าง ๆ รวมถึงการปั้นเครื่องหมาย ตรา เครื่องหมายต่าง ๆ กันอย่างแพร่หลาย
ไฟล์:Angkorwat-relief1.jpg


ลัทธิโฟวิสม์ (Fauvism)


ลัทธิโฟวิสต์ (ฝรั่งเศสLes Fauves) เป็นลัทธิของจิตรกรรมลัทธิหนึ่ง ลัทธินี้ใช้สีสดใส ตัดกันอย่างรุ่นแรง นำลีลาของเส้นมาใช้ใหม่ รูปแบบง่าย เรีบย สีที่นิยมใช้ คือ สีเขียว สีม่วง สีแดงอิฐ สีส้ม เกิดขึ้นและนิยมในประเทศฝรั่งเศสเท่านั้น อองรี มาตีส ชื่อเต็มคือ อองรี เอมีล เบอนัว มาตีส (Henri Matisse) เป็นผู้นำที่สำคัญของลัทธิโฟวิสต์ ค.ศ.1905 มาอีก 2 ถึง 3 ปีเท่านั้น ก็สลายไป
ศิลปินในลัทธิ คือ อองรี มาตีส ชื่อเต็มคือ อองรี เอมีล เบอนัว มาตีส(Henri Matisse) โดดเด่นในเรื่องการใช้สีสันสดใสและเลื่อนไหล รับอิทธิพลของ พอล เซซาน โกแกง ฟาน โก๊ะ (Van Gogh) และ Paul Signac ประกอบกับศิลปะญี่ปุ่น ดูฟี (Raoul Dufy) ศิลปินชาวฝรั่งเศส ค.ศ. 1877-1953 ใช้สีหวานเย็น เขียนภาพทิวทัศน์ สีภาพดูตัดกันแต่นุ่มนวล เน้นอารมณ์ประสานกัน

ศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionism Art)

          
          ศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ หรือ ลัทธิประทับใจ (อังกฤษ: Impressionism) เป็นขบวนการศิลปะที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 19 ซึ่งเริ่มต้นจากการรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ ของจิตรกรทั้งหลายที่มีนิวาสถานอยู่ในกรุงปารีส พวกเขาเริ่มจัดแสดงงานศิลปะในช่วงทศวรรษที่ 1860 ชื่อของขบวนการนี้มีที่มาจากภาพวาดของโกลด มอแนที่มีชื่อว่า Impression, Sunrise และนักวิจารณ์ศิลปะนามว่าหลุยส์ เลอรัว (Louis Leroy) ก็ได้ให้กำเนิดคำคำนี้ขึ้นมาอย่างไม่ตั้งใจในบทวิจารณ์ศิลปะเชิงเสียดสีซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Le Charivari อิทธิพลของอิมเพรสชันนิสม์ ยังแผ่ออกจากวงการศิลปะไปยังดนตรีและวรรณกรรม

ลักษณะของภาพวาดแบบอิมเพรสชันนิสม์ คือ การใช้พู่กันตวัดสีอย่างเข้ม ๆ ใช้สีสว่าง ๆ มีส่วนประกอบของภาพที่ไม่ถูกบีบ เน้นไปยังคุณภาพที่แปรผันของแสง (มักจะเน้นไปยังผลลัพธ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเวลา) เนื้อหาของภาพเป็นเรื่องธรรมดา ๆ และมีมุมมองที่พิเศษ
จิตรกรแนวอิมเพรสชันนิสม์ได้ฉีกกรอบการวาดที่มาตั้งแต่อดีต พวกเขาจึงได้ชื่อว่าเป็นพวกขบถ พวกเขาได้วาดภาพจากสิ่งที่อยู่ตรงหน้าในปัจจุบันให้ดูประหลาดและไม่สิ้นสุดสำหรับสาธารณชนที่มาดูงานของพวกเขานักวาดแนวนี้ปฏิเสธที่จะนำเสนอความงามในอุดมคติ และมองไปยังความงามที่เกิดจากสิ่งสามัญแทน พวกเขามักจะวาดภาพกลางแจ้ง มากกว่าในห้องสตูดิโอ อย่างที่ศิลปินทั่วไปนิยมกัน เพื่อที่จะลอกเลียนแสงที่แปรเปลี่ยนอยู่เสมอในมุมมองต่าง ๆ
ภาพวาดแบบอิมเพรสชันนิสม์ ประกอบด้วยการตวัดพู่กันแบบเป็นเส้นสั้น ๆ ของสีซึ่งไม่ได้ผสมหรือแยกเป็นสีใดสีหนึ่ง ซึ่งได้ให้ภาพที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีชีวิตชีวา พื้นผิวของภาพวาดนั้นมักจะเกิดจากการระบายสีแบบหนา ๆ ซึ่งทำให้พวกเขาแตกต่างจากนักเขียนยุคเก่าที่จะเน้นการผสมผสานสีอย่างกลมกลืนเพื่อให้ผู้อื่นคิดว่ากำลังมองภาพวาดบนแผ่นแฟรมให้น้อยที่สุด องค์ประกอบของอิมเพรสชันนิสม์ ยังถูกทำให้ง่ายและแปลกใหม่ และจะเน้นไปยังมุมมองแบบกว้าง ๆ มากกว่ารายละเอียด

ประวัติ

ในช่วงที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงของฝรั่งเศสนั่นคือจักรพรรดินโปเลียนที่สามทรงบูรณะกรุงปารีสและทำสงคราม สถาบันวิจิตรศิลป์ (Academie des Beaux–Arts) มีอิทธิพลต่อศิลปะของฝรั่งเศสในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ศิลปะในช่วงนั้นถือว่าเป็นออกไปทางอนุรักษ์นิยมซึ่งไม่ว่าจะคิดใหม่ทำใหม่อย่างไรก็ต้องตกอยู่ภายใต้การครอบงำของสถาบัน จึงกล่าวได้ว่า สถาบันได้วางมาตรฐานให้กับการวาดภาพของฝรั่งเศส นอกจากจะกำหนดเนื้อหาของภาพวาดแล้ว (ยกย่องแนวศาสนาและประวัติศาสตร์รวมไปถึงภาพเหมือนของคน) สถาบันยังกำหนดเทคนิคที่ศิลปินต้องใช้ พวกเขายกย่องสีแบบทึบ ๆ ตามแบบเก่า ๆ ยิ่งสะท้อนภาพให้เหมือนกับความจริงเท่าไรยิ่งดี สถาบันยังสนับสนุนให้เหล่าจิตรกรลบร่องรอยการตระหวัดแปรง และที่สำคัญต้องแยกศิลปะออกจากบุคลิกภาพ อารมณ์และเทคนิคการทำงานของตัวศิลปินเอง
ในปี ค.ศ. 1863 คณะกรรมการได้ปฏิเสธผลงานที่ชื่อว่า “การทานอาหารเที่ยงบนสนามหญ้า” (Le dejeuner sur l’herbe) โดยเอดัวร์ มาแน เพราะว่ามันแสดงภาพผู้หญิงเปลือยนั่งอยู่ข้าง ๆ ผู้ชายใส่เสื้อผ้าสองคนขณะที่ทั้งสามกำลังไปปิกนิกกัน ตามความเห็นของคณะกรรมการ ภาพเปลือยนั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับกันได้ในภาพวาดเชิงประวัติศาสตร์และเชิงสัญลักษณ์แต่จะมาแสดงกันผ่านภาพธรรมดาดาด ๆ เช่นนี้ถือว่าต้องห้าม
เอดัวร์ มาแน (ไม่ใช่มอแน) อับอายยิ่งนักกับการที่พวกกรรมการปฏิเสธโดยใช้คำพูดแบบเจ็บแสบ ซึ่งทำให้บรรดาศิลปินฝรั่งเศสทั้งหลายเริ่มแสดงความไม่พอใจกันมาก ถึงแม้มาแนจะไม่ถือว่าตัวเองเป็นพวกอิมเพรสชันนิสม์ เขาก็เป็นคนเปิดอภิปรายใน ร้านกาแฟ Guerbois ที่ซึ่งพวกศิลปินอิมเพรสชันนิสม์ มารวมตัวกันและมีอิทธิพลต่อการค้นหารูปแบบใหม่ของกลุ่ม ๆ นั้น
ภายหลังจากที่พระเจ้านโปเลียนที่สามได้ทอดพระเนตรงานหลายชิ้นที่ถูกปฏิเสธ ก็ทรงออกกฎหมายว่าสาธารณชนมีสิทธิ์ในการตัดสินงานศิลปะด้วยตัวเองและงานแสดงภาพ Salon des Refues (งานแสดงภาพที่ถูกปฏิเสธ) ก็ถูกจัดขึ้น แต่ถูกนักวิจารณ์ศิลปะโจมตีอย่างมากเป็นเวลาหลายปี และในปี 1874 นั่นเอง พวกศิลปินอิมเพรสชันนิสม์ (ถึงแม้จะไม่รู้จักว่าชื่ออะไรกันบ้าง) ก็ได้จัดงานแสดงภาพวาดของตัวเอง ภายหลังจากที่ไปร่วมงานแสดง นักวิจารณ์นามว่า Louis Leroy (นักแกะสลัก จิตรกร และนักเขียนบทละครที่มีชื่อเสียง) ได้เขียนบทวิจารณ์แบบเจ็บ ๆ แสบ ๆ ลงในหนังสือพิมพ์ Charivari โดยเน้นการโจมตีไปที่ภาพวาดโดยจิตรกรโนเนมในขณะนั้นที่เขาตั้งชื่อในบทความว่า “การแสดงภาพวาดของจิตรกร Impressionism” เลอโรย์ประกาศว่าภาพวาดที่ชื่อว่า Impression, Sunrise ของมอแนอย่างมากสุดก็เป็นแค่ภาพร่างแบบลวก ๆ จะให้เรียกว่าเป็นผลงานที่ สมบูรณ์แล้วก็อย่าหวังเลย
ถึงแม้คำว่าอิมเพรสชันนิสม์ เป็นคำเสียดสีของนักเขียนท่านนี้ แต่พวกศิลปินกลับชื่นชอบมันและเห็นว่าเป็นคำเรียกแบบให้เกียรติกัน ถึงแม้รูปแบบและมาตรฐานของแต่ละคนจะแตกต่างแปรเปลี่ยนไปแต่สิ่งที่ ร้อยรัดพวกเขาให้เป็นหนึ่งเดียวคือจิตวิญญาณแห่งความเป็นขบถและความเป็นตัวของตัวเองถึงแม้ในอดีต การวาดภาพจะถูกมองอยู่เสมอว่านำเสนอสิ่งต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์และทางศาสนาในลักษณะที่เป็นทางการ แต่ความจริงศิลปินหลายท่านก็วาดภาพถึงสิ่งที่สามารถพบเห็นในชีวิตประจำวัน จิตรกรชาวDutchในศวรรษที่ 19 อย่างเช่นยาน สตีนมุ่งเน้นไปที่วัตถุธรรมดา แต่ว่างานของพวกเขาก็แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของการจัดองค์ประกอบภาพแบบเก่า ๆ ในการจัดวางฉาก เมื่อศิลปะแนว อิมเพรสชันนิสม์ เกิดขึ้น พวกศิลปินก็สนใจในการวาดภาพต่อสิ่งธรรมดาดาด ๆ และนิยมการเก็บภาพด้วยวิธีใหม่
ในช่วงนั้นภาพถ่ายก็กำลังเป็นที่นิยมและกล้องถ่ายรูปก็พกพาได้ง่ายขึ้น ส่วนภาพถ่ายก็ให้ความสมจริงขึ้นเรื่อย ๆ ภาพถ่ายก็เป็นแรงบันดาลใจให้พวกศิลปินอิมเพรสชันนิสม์ บันทึกไม่ใช่เฉพาะแสงที่มาตกกระทบต่อภูมิประเทศเท่านั้นหากแต่เป็นชีวิตประจำวันของคนทั่วไป ภาพถ่ายและภาพพิมพ์แบบญี่ปุ่นหรือ Japonism (เป็นอย่างไรโปรดอ่านต่อข้างล่าง) ผสมผสานกันกลายเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้พวกศิลปินอิมเพรสชันนิสม์ ค้นคิดวิธีแบบใหม่และใช้มุมมองของภาพที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ภาพวาดของแอดการ์ เดอกา ที่ชื่อว่า La classe de danse หรือชั้นเรียนเต้นรำแสดงให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลทั้งสองด้าน หนึ่งในนั้นเป็นภาพนักเต้นรำกำลังจัดชุดของหล่อนและด้านล่างขวามือเป็นภาพของพื้นว่างเปล่า
มูลเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดศิลปะคตินิยมอิมเพรสชันนิสม์ พอสรุปได้ดังนี้
  • เป็นไปตามกฎวิวัฒนาการของธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอยางย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามครรลองของชีวิต สภาพหนึ่งสู่สภาพหนึ่ง ไม่สามารถหยุดอยู่กับที่ และความคิดร่วมสมัยย่อมเบื่อหน่ายกับสิ่งซ้ำซาก จำเจ มีกฎเกณฑ์ยุ่งยาก ไม่มีอิสระ ไม่มีการท้าทายสติปัญญา คตินิยมศิลปะแบบเก่า ๆ อาทิเช่น นีโอ-คลาสิค โรแมนติด และเรียลลิสม์ ซึ่งเกิดขึ้นและหมดความนิยมลง ล้วนเป็นบทพิสูจน์อันดีสำหรับกฎวิวัฒนาการ อนึ่ง สภาพของสังคม เศรษฐกิจ และ ปรัชญาของชีวิตได้แปรเปลี่ยน ไป คำว่าอิสรภาพ เสรีภาพ และภราดรภาพ เป็นหลักทั่วไปในการแสวงหาทางออกใหม่ ลัทธิปัจเจกชนได้รับการนับถือ ทางด้านเศรษฐกิจเป็นไปตามแนวเสรีนิยม ศิลปินต้องดำรงชีพอยู่ด้วยตนเองไม่มีข้อผูกพันหรือรับคำสั่งในการทำงานดังแต่ก่อน
  • ความก้าวหน้าทางวิชาการต่าง ๆ รุดไปอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์การค้นคว้าทฤษฎีแม่สีแสงอาทิตย์เพิ่มเติม และนักวิทยาศาสตร์ชื่อ เชฟเริล (Chevereul) ได้เขียนตำราเกี่ยวกับทฤษฎีสี เป็นมูลเหตึจูงใจให้ศิลปินเห็นทางใหม่ในการแสดงออก ประกอบกับได้มีการประดิษฐ์กล้องถ่ายรูป ทำให้เขียนภาพเหมือนจริงลดความนิยมลงไป เพราะสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ให้ผลิตผลที่เหมือนจริงและรวดเร็วกว่า
  • การคมนาคมโดยทั่วไปได้รับการพัฒนาให้รวดเร็วขึ้น ความเคลื่อนไหวถ่ายเททางศิลปวัฒนธรรมของชาติต่างเป็นไปโดยสะดวก ทำให้ศิลปินมีทรรศนะกว้างขวาง มีความเข้าใจต่อโลกภายนอกมากยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 1867 มีการแสดงนิทรรศการศิลปกรรมของญี่ปุ่นขึ้นในปารีสซึ่งก่อให้เกิดแรงดลใจต่อศิลปินหนุ่มสาว หัวก้าวหน้าในยุคนั้นอย่างมากเป็นต้น
  • มีการพัฒนาสืบทอดความคิดของศิลปินรุ่นก่อนหน้านี้ ได้แก่พวกเรียลลิสต์ ซึ่งนิยมสร้างจากความเป็นจริงที่สามารถมองเห็นได้ และพวกจิตรกรหนุ่มกลุ่มธรรมชาตินิยม โดยเฉพาะพวกกลุ่มบาร์บิซง ซึ่งรวกันไปอยู่ที่หมู่บ้านบาร์บิซง ใกล้ป่าฟงแตนโบล อยู่ไม่ห่างจากปารีสเท่าใดนัก กลุ่มนี้จะยึดถือเอาธรรมชาติ อันได้แก่ ขุนเขาลำเนาไพร เป็นสิ่งที่มีความงามอันบริสุทธิ์และมีคุณค่าสูงสุดพวกเขาจะออกไปวาดภาพ ณ สถานที่ที่ต้องการ ไม่มัวนั่งจินตนาการอยู่ในห้องดังแต่ก่อน นอกจากนี้ยังได้รับแรงดลใจจากจิตรกรอังกฤษสองคน คือ จอห์น คอนสเตเบิล และวิลเลียม เทอร์เนอร์ ซึ่งมีแนวการสร้างงานคล้ายกลับกลุ่มบาร์บิซ