วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การวาดเส้น (Drawing) เป็นพื้นฐานของงานทัศนศิลป์และการออกแบบ โดยการสร้างภาพสองมิติโดยวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว ให้เกิดร่องรอยต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือที่อยู่ใกล้ตัว เช่น ถ่าน เศษไม้ หรือแม้แต่นิ้วมือของตนเอง แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ ดินสอ ปากกาและหมึก เครยอง ดินสอสี ดินสอถ่าน ชอล์ก ชอล์กสี ปากกามาร์กเกอร์ ปากกาหมึกซึม ซึ่งโดยมากจะเขียนลงบนกระดาษ หรือวัสดุอื่นอย่าง กระดาษแข็ง พลาสติก หนัง ผ้า กระดาน สำหรับการเขียนชั่วคราวอาจใช้กระดานดำหรือกระดานขาว หรือบนอะไรก็ได้
สำหรับศิลปินที่เขียนหรือทำงานการวาดเส้นอาจหมายถึง ช่างสเก็ตภาพ หรือ ช่างเขียนแบบ

Speed Charcoal Drawing - Megan Fox - Theportraitart

การปั้นหน้าคนเหมือน

การระบายสีน้ำ
   ปัจจุบันเรานิยมเขียนภาพสีน้ำกันอย่างแพร่หลาย ความนิยมในการเขียนภาพสีน้ำเพราะความงดงาม
ของสีน้ำที่แสดงให้เห็นถึง มิติของสี ความซับซ้อนของพื้นภาพ และประกายแสง ลักษณะพิเศษเหล่านี้ เกิดจากการระบายที่ประณีตซับซ้อน นอกจากนั้นแล้ว สีน้ำยังมีเสน่ห์ ในการนำออกไประบายยังสถานที่ี่ ต่างๆ เราเพียงแต่มีกล่องใส่สีน้ำหรืออาจจะใช้สีน้ำช่วยระบายเป็นภาพร่างสำหรับการเขียนภาพสีน้ำมัน หรือสีอะครีลิค อัลเบรชท์ ดูเรอร์ เป็นศิลปินคนแรกที่ใช้สีน้ำเป็นสื่อในการแสดงออกเพื่อเขียนภาพสัตว์์ และ ภาพภูมิทัศน์ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19  เทอร์เนอร์ เป็นศิลปิน คนแรกในการระบายสีน้ำตามแนวทางศิลปะสมัยใหม่
   ปีคริสต์ศักราช 1832 นักเคมีและจิตรกร วิลเลียม วินเซอร์  และ เฮนรี นิวตัน ได้เริ่มต้นธุรกิจ สิ่งที่ทั้ง สองประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ คือ สีน้ำ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน คือ สีน้ำบรรจุกล่อง แล้วจึงตามมาด้วย สีน้ำชนิดบรรจุหลอดโลหะในปี ค.ศ.1841
    คำแนะนำต่อไปนี้  ได้เตรียมข้อมูลที่หลากหลายสำหรับการระบายสีน้ำ  เป็นพื้นฐานการทำงานที่ดี
สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษา(มือใหม่) สำหรับมืออาชีพ ก็มีคู่มือวัสดุอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์์งานศิลปะ
ด้วยเช่นกัน




วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทบาทในการส่งเสริมศิลปะเด็ก

บทบาทในการส่งเสริมศิลปะเด็ก
          สรุปได้ว่า ผู้ที่เป็นพ่อแม่ ครู อาจารย์และผู้เกี่ยวข้องกับชีวิตของเด็กๆไม่สมควรมุ่งหวังที่ตัวรางวัลหรือส่งเสริมศิลปะเด็กเพื่อเตรียมตัวเป็นศิลปิน
หรือจิตรกรในอนคต เนื่องจากเด็กยังมีชีวิตอยู่อีกยาวนาน พ่อแม่หรือผู้หวังดีไม่ควรรีบร้อนกำหนดชีวิตอนาคตของเด็กว่าจะต้องมีอาชีพทางศิลปะ เช่น จิตรกรหรือศิลปินผู้มีชื่อเสียง
           แนวทางที่เหมาะสมสำหรับเด็กในวันนี้ เด็กๆทุกคนควรได้รับการส่งเสริม ให้แสดงออกทางศิลปะ เพื่อพัฒนาความคิด
ริเริ่มสร้างสรรค์ จินตนาการ และปลูกฝังศิลปะนิสัยที่ดีงามลงในตัวเด็ก เพื่อเตรียมเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในอนาคตต่อไป
           เมื่อถึงวันนั้นแล้วเราอาจจะได้บุคคลหลายๆวิชาชีพที่ล้วนแต่มีคุณภาพที่ดีหรือมีความคิดริเริ่มสร้าง
สรรค์สูง เช่น นายแพทย์ วิศวกร สถาปนิก นักการเมือง นักธุรกิจ แม่บ้าน หรือแม้แต่จะเป็นชาวนาหรือคนขับรถฯลฯทุกคนต่างก็จะมีคุณภาพของชีวิตที่ดี คือ สามารถพัฒนาตนเองและสังคมให้มีสภาพดีขึ้นกว่าปัจจุบันนี้
รองศาสตราจารย์เลิศ อานันทนะ

ผลจากการเป็นนักล่ารางวัล

ผลจากการเป็นนักล่ารางวัล
         เด็กที่มีความสามารถทางศิลปะบางคนแทนที่จะมีความสุขและประสบความสำเร็จในการใช้ความถนัดทางธรรมชาติของตนตามความเหมาะสม บางครั้งได้กลายเป็นความโชคร้ายของเด็กคนนั้น เมื่อถูกผู้ใหญ่ใช้เป็นเครื่องมือในการประกวดแข่งขันตามเวทีศิลปะต่างๆ จนสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองไป
           แถวๆ ฝั่งธนมีคุณแม่อยู่คนหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันในวงการว่าเป็นคนที่จุ้นจ้าน ชอบบงการชีวิตของลูกชายผู้รักศิลปะของตน บางครั้งจะโทรศัพท์หรือไม่ก็ไปพบกรรมการผู้เกี่ยวข้องกับศิลปะเด็กบางคน เพื่อปรึกษาหรือร้องทุกข์ถึงความผิดหวัง เจ็บปวดรวดร้าว เมื่อลูกชายสุดที่รักคนเดียวส่งภาพเขียนไปประกวดแล้วถูกกรรมการที่ไม่เอาไหนตัดสินให้รับรางวัลชมเชย ทั้งๆ ที่น่าจะได้รับรางวัลที่ 1
          คุณแม่ของจิตรกรรุ่นเยาว์ผู้เคราะห์ร้ายจะบ่นรำพันมาตามสาย เพื่ออธิบายให้เห็นถึงความสายตาสั้นของกรรมการผู้ตัดสินบางคน ที่มองไม่เห็นถึงความเป็นอัจฉริยะทางศิลปะของลูกรัก ตาต่ำ ไร้รสนิยม และขาดความยุติธรรมจนกระทั่งเห็นผลงานคนอื่นดีกว่า
           อันที่จริงกรรมการบางท่านก็อาจจะเป็นเช่นนั้นในบางครั้ง เพราะอาจถูกเชิญมาในฐานะศิลปิน จึงมีความคิดเป็นของตนเองและขาดความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กวัยต่างๆ เวลาพิจารณาตัดสินจะพูดอยู่เพียงสองคำเท่านั้นคือ "เอา" กับ "ไม่เอา" ถ้าไม่เอาก็หมายความว่าภาพเขียนชิ้นนั้นจะถูกนำไปกองในประเภทคัดออกไปอย่างรวดเร็ว บางครั้งในขนาดวางภาพหัวกลับก็สามารถตัดสินได้ อย่างไรก็ตามการพิจารณาตัดสินโดยทั่วไปก็มักจะมีการเชิญกรรมการหลายคน และยึดถือเสียงส่วนใหญ่เป็นข้อยุติ ดังนั้น เมื่อกรรมการตัดสินไปแล้วปรากฏผลเป็นอย่างไรก็ควรยอมรับ ถ้าหากไม่ยอมรับก็ไม่สมควรจะเข้าไปร่วมการประกวดและแข่งขันนั้นๆเสียตั้งแต่ต้น ทั้งนี้ควรทราบด้วยว่าในการประกวดและแข่งขันย่อมไม่ใช่วิธีการส่งเสริมศิลปะเด็กที่เหมาะสมทุกประการ แต่เป็นเพียงกิจกรรมหนึ่งเสมือนเป็น "สนาม" สำหรับประลองฝีมือทางศิลปะให้เด็กเกิดความกระตือรือร้นเท่านั้น

รางวัลสร้างสรรค์หรือทำลาย

รางวัลสร้างสรรค์หรือทำลาย
   ณ ที่ใดที่มีการประกวดและแข่งขันเพื่อชิงรางวัลที่นั้นย่อมจะต้องมีผู้ดีใจและเสียใจข ดังนั้น รางวัลจึงเปรียบเสมือน "ดาบสองคม" ที่คุณและโทษ ทางด้านหนึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นประโยชน์กล่าวคือ เป็นเครื่องหมายของการยกย่องให้เกียติ ซึ่งนำมาสู่ความภาคภูมิใจแก่ผู้ที่ได้รับ ถ้าหากรู้จักใช้อย่างพอเหมาะพอควร รางวัลจะเป็นแรงผลักดันสำคัญ ทำให้เกิดกำลังใจในทางสร้างสรรค์ที่ดีงาม ส่วนคมอีกด้านหนึ่งนั้นเป็นตัวทำลาย เนื่องจากการประกวดและแข่งขันมักจะถูกกำหนดเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ต่างๆ นานาจากผู้ดำเนินการในแต่ละครั้ง อาทิ เช่น การกำหนดเนื้อหาเรื่องราว เทคนิควิธีการและข้อจำกัดอื่นๆ ตามแต่ผู้จัดจะกำหนดโดยทั่วไปเด็กๆ จึงไม่มีโอกาสได้แสดงออกอย่างอิสระเสรี ซ้ำบางครั้งครูและผู้ปกครองที่มีความประสงค์อยากให้เด็กของตนได้รับรางวัล มักจะออกคำสั่งให้เด็กนั้นๆ ทำงานตามวิธีการของผู้ใหญ่ที่คิดว่าจะทำให้ผลงานนั้นดีกว่าหรือได้เปรียบกว่าผู้ประกวดและผู้แข่งขันคนอื่นๆ
   จากการชี้แนะและออกคำสั่งบงการให้เด็กต้องทนทำงานศิลปะตามลักษณะรูปแบบที่ผู้ใหญ่คาดหมายว่าจะได้รับรางวัล โดยที่เด็กไม่มีโอกาสใช้ความคิดของตนเองเลยนั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่าเด็กกำลังถูกแทรกแซงทางความคิดให้จำต้องสร้างงานศิลปะตามคำบงการของผู้อื่นโดยมีรางวัลเป็นสิ่งล่อใจ ซึ่งนอกจากไม่เป็นการส่งเสริมทัศนคติที่ดีต่อศิลปะเด็กแล้ว ยังเป็นการทำลายความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่บริสุทธิ์ของเด็กๆ ลงอย่างน่าเสียดายอีกด้วย